ความงานผลงานปี ๒๕๖๔:
เอื้องพะเยาเคียงคู่ บุหงาปัตตานี
เป็นประเพณีอย่างของการตัดสินทุนเพื่อมอบทุนให้นิสิต-นักศึกษาทุกปี จะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพผลงานของนิสิต-นักศึกษาว่าใครมีผลงานเด่นที่จะเป็นผลงานแห่งปีกันได้บ้าง
ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน คณะกรรมการใช้เวลากว่า ๑๒ ชั่วโมง เพื่อพิจารณาผลงานของนิสิต-นักศึกษาจาก ๔๐ สถาบันทั่วประเทศ จำนวน ๔๓๙ คน ที่ทุกคนได้ส่งผลงานมาให้คณะกรรมการได้พิจารณาฯ อย่างน้อยคนละ ๕ ชิ้น ที่ทำให้คณะกรรมการต้องพิจารณากันทั้งวัน ไม่น้อยกว่า ๒,๑๙๕ ชิ้น
พวกเราเริ่มกัน ๐๘.๓๐ น. และสิ้นสุดกันแบบมีอาการ ๒๑.๐๐ น.
คณะกรรมการพิจารณาผลงานของนิสิต-นักศึกษาตลอดทั้งวัน
การพิจารณาในวันนั้น เราได้นิสิต-นักศึกษา ที่มีผลการเรียนดี ประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อรับทุนจำนวน ๑๒๙ คน
นอกจากนี้ ในปีนี้ กองทุนฯด้วยความเห็นชอบของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้จัดทุนพิเศษให้กับนิสิต-นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกจำนวน ๑๑๓ คน
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมของการพิจารณาการมอบทุนให้กับนิสิต-นักศึกษ ประจำปี ๒๕๖๔
คราวนี้ขอกลับมาพูดถึงเรื่องการคัดเลือกผลงานแห่งปี ที่มีการพิจารณาในคราวเดียวกัน วันเดียวกัน ที่พิจารณาไปพร้อมๆกัน
เมื่อพูดถึงตรงนี้ ก็ทำให้ได้ยินเสียงซีดปากขึ้นมาของกรรมการท่านหนึ่งที่พวกเราเรียกขานกันด้วยชื่อเล่นว่า พี่เซียน(นภดล โชตะสิริ) ที่รอบรู้เป็นที่รู้จักในวงการถ่ายภาพ อดีตช่างภาพถ่ายแบบนางแบบนับไม่ถ้วนในยุค๗๐ เพื่อขึ้นปกนิตยสารลลนาในยุคนั้น
ที่ออกอาการ ก็เพราะติดตาต้องใจกับผลงานของ ธนชล คุ้มคชสีห์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้ส่งผลงานมาหลายประเภทมาเพื่อพิจาณา และผลงานแต่ละชิ้นก็มีองค์ประกอบสมบูรณ์งดงาม
ผลงานเหล่านี้มีการประเมินกันว่า ได้มาจากการทำงานเป็น ทีม ทำงานร่วมกันระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ ลูกศิษย์สร้างสรรค์ผลงาน ขณะที่อาจารย์ให้คำแนะนำ ช่วยตรวจทานวิจารณ์ให้เกิดความสมบูรณ์งดงาม
ข้อสังเกตุนี้ทำให้พวกเราหันรีหันขวางกันในที่ประชุม เหมือนเป็นคำถามๆทุกคนในห้องว่ามีใครรู้จักอาจารย์ ม.พระเยาบ้าง ซึ่งอาจได้ข้อมูลเพิ่ม ความเข้าใจเพิ่ม ก่อนลงคะแนนมอบทุนให้กับธนชล
ผลงานธนชล คุ้มคชสีห์ชุดที่ ๑
สำหรับผลงานที่ขอหยิบยกขึ้นมาให้เห็นถึงความโดดเด่นและการนำเสนอผลงานก็เป็นม้าลายที่ทำจากกระดาษ หรือ เปปอร์มาเช่ที่แขวนในมุนที่เหมาะกับฉากหลัง มีองค์ประกอบภาพที่ดี เมื่อถ่ายรูปออกมาเป็นชิ้นงานก็แจ่มชัดงดงามและสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากผลงานชิ้นนี้แล้ว ธนชล ยังส่งผลงานภาพพิมพ์ที่ทำขึ้นง่ายๆ น้อยชิ้น แต่นำแต่ละชิ้น พิมพ์ด้วยสีสันที่ต่างกันทับซ้อนกันมีมิติได้อย่างลงตัวในแต่ละชิ้น นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์ซ้ำต่อเนื่องขยายขนาดให้ยาวต่อเนื่องได้อย่างไม่จำกัด ทำให้งดงามมากขึ้น และมีพลัง
ผลงานภาพพิมพ์ของธนชล คุ้มคชสีห์
เมื่อมองเห็นผลงาน ธนชล โดยรวมแล้ว ก็มีเสียงวิจารณ์กัน ว่าเหมือนเรามองเห็นดอกเอื้องงามของพระเยาอยู่ตรงหน้า....
แต่การคัดเลือกผลงานแห่งปี ๒๕๖๔ ยังไม่จบครับ
อ.ยุ่น(อ.วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา) เลขานุการคณะกรรมการ ได้เสนอให้พิจารณาผลงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ๒ คน ที่มาจากแดนใต้ที่ไกลโพ้น อาจจะแร้นแค้น ขาดความสมบูรณ์ แต่กลับสามารถสร้างเด็กที่มีฝีมือ
เด็กคนแรกที่ อ.ยุ่น พูดถึงคือ กุลธิดา สามารถ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ ที่สร้างผลงานด้วยสื่อผสม บนผืนผ้าหลากสี แล้วตอกด้วยตะปู มีลิปสติกสีต่างๆ ตลับแป้ง สร้อยของหญิงสาว ปักตึงกระจายอยู่ทั่วชิ้นงาน มองเผลนๆเหมือนการปักผ้า
ผลงานของกุลธิดา สามารถมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กุลธิดา ได้สื่อผ่านผลงานเธอ ว่า ปัจจุบันสตรีให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าทางด้านความงามและแฟชั่นเป็นอย่างมาก เพียงเพื่อต้องการความสวยงาม หรูหราและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต จนลืมความสำคัญทางคุณค่าและจิตใจ
ขณะที่ อัซมาวีย์ การี ที่มาจากสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ได้เสนอผลงานแนววิถีมลายูในยุคโลกาภิวัฒน์ที่งดงาม สะท้อนวิถีชีวิตคนใต้ในแง่มุนต่างๆของหญิงชายได้อย่างน่าสนใจ
ผลงานของอัซมาวีย์ การีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผลงานเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นความงามของศิลปะใต้ผ่านนิสิต-นักศึกษา ๒ คนนี้ว่ามีพื้นฐานที่ดี และมีโอกาสก้าวต่อไปได้อีกไกล ที่จะกลายมาเป็นดอกไม้ช่องานประดับวงการศิลปะของปัตตานี เคียงคู่กับ บุหงาปัตตา ที่เรื่องชื่อ
และนี่ยังทำให้ในปีนี้เราได้ผลงานแห่งปี ๒๕๖๔ ที่มี เอื้องพะเยาเคียงคู่ บุหงาปัตตานีไงครับ